เมนู

ไม่ต้องอาบัติ


ยังไม่เลย 5 วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เลย ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[234] นุ่ง ห่ม หรือผึ่ง จีวรทั้ง 5 ผืนในวันคำรบห้า 1 อาพาธ
1 มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 4


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 พึงทราบดังนี้:-
วัน 5 วัน ชื่อ ปัญจาหะ. ปัญจาหะนั้นเอง ชื่อว่า ปัญจาหิกะ
วาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิทั้งหลาย ชื่อว่า สังฆาฎิวาระ. การผลัดเปลี่ยนจีวร
5 ผืน ที่ได้ชื่อว่าสังฆาฎิ โดยอรรถว่า สับเปลี่ยนสลับกันไป ด้วยการบริโภค
ใช้สอยบ้าง ด้วยอำนาจการผึ่งแดดบ้าง. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ให้จีวร 5 ผืนล่วงเลยวันคำรบ 5 ไป.
ก็ในคำว่า อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า ในจีวรผืนเดียว
เป็นอาบัติตัวเดียว ในจีวร 5 ผืน เป็นอาบัติ 5 ตัว.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า จีวรมีราคาแพง เป็นขอที่ภิกษุณีไม่
อาจจะบริโภคใช้สอย เพราะอันตรายมีโจรภัยเป็นต้น ในอุปัทวะเห็นปานนี้
ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกับกฐินสิกขาบท เป็นอกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

นัคควรรค สิกขาบทที่ 5


เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง


[235] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งไปบิณฑบาตกลับมาแล้ว แผ่ผึ่งจีวรที่เปียกชุ่มเหงื่อไว้แล้วเข้าสู่วิหาร
ภิกษุณีรูปหนึ่งได้ห่มจีวรผืนที่แผ่ผึ่งไว้นั้นแล้ว เข้าบ้านไปบิณฑบาต ภิกษุณี
เจ้าของออกมาถามภิกษุณีทั้งหลายว่า แม่เจ้าทั้งหลายเห็นจีวรของดิฉันบ้าไหม
ภิกษุณีทั้งหลายแจ้งความนั้นแก่เธอ ๆ จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีจึงไม่บอกกล่าวห่มจีวรของเราไปเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ไม่บอกกล่าวห่มจีวรของภิกษุณีเล่า . . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีไม่บอกกล่าว ห่มจีวรของภิกษุณี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณี จึงได้ไม่บอกกล่าว ห่มจีวรของภิกษุณีเล่า การกระทำของนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .